สกรู คุณภาพดี มีมาตราฐานรับรอง สั่งทำได้ตามแบบ

รู้จักสกรูแต่ละประเภท พร้อมการใช้งานที่เหมาะสม

สกรูมักถูกใช้ในการประกอบหรือซ่อมแซมสิ่งของต่างๆ ซึ่งสกรูสามารถให้การยึดทนทานและคงทนได้เมื่อถูกใช้งานอย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีสกรูอยู่หลากหลายประเภทให้เลือกใช้งานไม่ว่าจะเป็น สกรูหัวหกเหลี่ยม สกรูหัวแฉก สกรูหัวจม สกรูหัวจมเตเปอร์ สกรูหัวกากบาท ขอบปกติ ขอบใหญ่ มิลดำ สแตนเลสเกลียวมิล เกลียวหุน เกลียวนิ้ว เกลียวละเอียด ซึ่งแต่ละประเภทมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป การเลือกใช้สกรูที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้งานมีความแข็งแรงและคงทนต่อการใช้งานในระยะยาว หากมีคำถามเพิ่มเติมหรือต้องการคำแนะนำในการเลือกใช้สกรูสามารถสอบถามทีมงานเราได้!  

DIN931, ISO4014 – CLASS 4.6, 8.8, 10.9, 12.9, SS304, SS310, SS316

Partially Threaded Hexagon Cap Screws

DIN933, IS04017 – CLASS 8.8, 10.9, 12.9, SS304, SS310, SS316

Hex Head Bolts Fully Threaded

DIN960, IS08765 – CLASS 4.6, 8.8, 10.9, 12.9, SS304, SS310, SS316

Partially Threaded Hex Cap Screws (FINE PITCH THREAD)

ASTM A193

ALLOY & STAINLESS STEEL BOLTING FOR HIGH TEMPERATURE OR HIGH PRESSURE SERVICE. Bolts หัวหกเหลี่ยมขอบใหญ่ เกรด B7, เกรด B7M, เกรด B8, เกรด B8M

ASTM A307A

CARBON STEEL BOLTS AND STUDS, MIN 60,000 PSI TENSILE STRENGTH. Bolts หัวหกเหลี่ยมเกลียวหุน, เกลียวหุน, เกลียวนิ้ว, เกรดธรรมดา

ASTM A307B

CARBON STEEL BOLTS AND STUDS, MIN 60,000 PSI TENSILE STRENGTH สกรูหัวหกเหลี่ยมขอบใหญ่, สกรู A307 เกรด B

ASTM A325

Structural Bolts, Steel, Heat Treated, 120/105 KSI Minimum Tensile Strength

ASTM A325M

STRUCTURAL BOLTS, STEEL, HEAT TREATED, 120/105 KSI MINIMUM TENSILE STRENGTH (METRIC) A325M

ASTM A394

STEEL TRANSMISSION TOWER BOLTS, ZINC-COATED AND BARE. A394

ASTM A449

HEX CAP SCREWS, BOLTS AND STUDS, STEEL, HEAT TREATED, 120/105/90 ksi MINIMUM TENSILE STRENGTH, GENERAL USE A449

ASTM A490

STRUCTURAL BOLTS, ALLOY STEEL, HEAT TREATED, 150 KSI MINIMUM TENSILE STRENGTH A490

ASTM A490M

HIGH STRENGTH STEEL BOLTS FOR STRUCTURAL STEEL JOINTS (METRIC) A490M

JIS B1186 (F10T)

HIGH STRENGTH HEAXAGON BOLTS FOR FRICITION GRIP JOINTS F10T

DIN604

COUNTERSUNK NIB HEAD SCREWS. Bolts หัวเตเปอร์เขี้ยว

DIN912, ISO4762

HEXAGON SOCKET HEAD CAP SCREWS. หัวจม

DIN7991, ISO10642

Hexagon Socket Countersunk Head Cap Screws

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสกรู

 

1. สกรูคืออะไร

สกรู เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการยึดวัตถุสองชนิดให้ติดกัน มีรูปร่างหน้าตาทรงกระบอกมีเกลียวโดยรอบ ซึ่งมีส่วนช่วยให้สามารถยึดวัตถุได้ดียิ่งขึ้น หัวสกรูจะมีหลากหลายประเภท ตัวอย่างสกรูที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมงานก่อสร้างมีหลากหลายประเภท ได้แก่ สกรูหัวหกเหลี่ยม สกรูเกลียวตลอด สกรูหางปลา สกรูสตัด เป็นต้น นอกจากนี้ในส่วนของหัวสกรูก็ยังมีให้เลือกอีกหลายรูปแบบ อาทิ หัวแฉก, หัวแบน, หัวสี่เหลี่ยม, หัวหกเหลี่ยม, หัวจม เป็นต้น

2. ประเภทของสกรู มีอะไรบ้าง?

ตัวอย่างประเภทของสกรูที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้:

  • สกรูหัวหกเหลี่ยม: เป็นสกรูที่ส่วนหัวเป็นรูปทรงหกเหลี่ยมตัน มีให้เลือกทั้งแบบเกลียวหยาบและเกลียวละเอียด รวมไปถึงมีวัสดุให้เลือกใช้งานหลายชนิด เช่น อลูมิเนียม, สเตนเลส, เหล็ก เป็นต้น ในส่วนของการใช้งานจะใช้ประแจหรือไขควงลูกบล็อกในการขันเข้ากับน็อต เพื่อประกอบชิ้นงานเข้าด้วยกัน สกรูชนิดนี้นิยมนำไปใช้ยึดชิ้นส่วนเครื่องจักรในอุตสาหกรรม, ชิ้นส่วนภายในรถยนต์, หน้าแปลนของงานระบบท่อ และอื่นๆ 
  • สกรูหัวจมหกเหลี่ยม: เป็นสกรูที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีทั้งแบบสั้นและแบบยาว รวมทั้งยังมีหัวสกรูที่เป็นรูจมหกเหลี่ยม ช่วยให้สามารถจับยึดกับประแจหกเหลี่ยมได้อย่างแน่นหนา เพื่อการขันหรือคลายสกรูได้อย่างสะดวก
  • สกรูหัวจมเตเปอร์: เป็นสกรูที่เมื่อขันจนสุดแล้ว จะจมลงไปในชิ้นงานเช่นเดียวกับแบบหัวแฉก แต่หัวจมเตเปอร์จะถูกนำไปใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงมากกว่า เพราะสามารถยึดติดได้แน่นและแข็งแรงมากกว่า โดยจะใช้ประแจแอลในการขันให้แน่น
  • สกรูหัวจมกลม: เป็นสกรูที่คล้ายกับแบบหกเหลี่ยม แต่ตัวหัวจะมีลักษณะกลมมน เหมือนกับกระดุม ในส่วนของหัวสกรูจะต่ำกว่าแบบแรก แต่จะไม่จมลงไปในชิ้นงาน การใช้งานจะใช้กุญแจหัวหกเหลี่ยมขันเช่นเดียวกันกับสกรูหกเหลี่ยม
  • สกรูตัวหนอน: เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยึดชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ หรือเฟอร์นิเจอร์ไม้เข้าหากันโดยใช้แรงดันที่เกิดขึ้นที่ปลายสกรูเพื่อขันให้แน่น มีลักษณะเป็นแกนเกลียวตลอด ตรงปลายสกรูไม่มีหัวยื่นออกมาเหนือพื้นผิวทำให้สามารถใช้งานร่วมกับสกรูหัวจมหกเหลี่ยม สกรูหัวแฉก และสกรูหัวผ่าแล้วขันให้แน่นด้วยประแจหกเหลี่ยม

3. สกรูสแตนเลส 304 ต่างกับ สกรูสแตนเลส 316 อย่างไร?

1. สกรูสแตนเลสเกรด 304

  • ส่วนประกอบ: เหล็กกล้าคาร์บอน, ครอมเมียม, และโมลิบดีนัม
  • ส่วนผสม: 18% ครอมเมียม (Cr), 8% โมลิบดีนัม (Ni)
  • คุณสมบัติ: สแตนเลสเกรด 304 มีความทนทานต่อการกัดกร่อนและความแข็งต่ำ มักใช้ในงานที่ต้องการความสวยงามและความทนทานต่อการกัดกร่อนที่มาจากสภาพแวดล้อมไม่เป็น กรด เช่น งานโรงงานอาหารและเครื่องดื่ม

2. สกรูสแตนเลสเกรด 316

  • ส่วนประกอบ: เหล็กกล้าคาร์บอน, ครอมเมียม, และโมลิบดีนัม
  • ส่วนผสม: 16% ครอมเมียม (Cr), 10% โมลิบดีนัม (Ni), 2% โมลิบดีนัม (Mo)
  • คุณสมบัติ: สแตนเลสเกรด 316 มีความทนทานสูงต่อการกัดกร่อนและการออกซิเดชัน มีความต้านทานต่อการสกปรกด้วยสารเคมีสูง สามารถทนได้ในสภาวะที่มีความเค็ม มักใช้ในงานที่ต้องการความทนทานสูง เช่น การใช้ในสายรถยนต์, อุตสาหกรรมเรือ, และสายน้ำ

4. สนใจสั่งผลิตกับทางบริษัทสามัคคีสลักภัณฑ์ต้องเริ่มอย่างไร?

หากสนใจสั่งซื้อหรือสั่งผลิตสกรู น๊อต ลูกค้าสามารถกำหนด ขนาด เกรดเหล็ก มาตราฐานสากล ที่ท่านต้องการได้เลย หรือท่านสามารถส่ง Drawing มาที่บริษัทให้ทางทีมงานของเราตรวจสอบก่อน หรือ หากท่านยังไม่แน่ใจ มีข้อสงสัย ทางทีมงานของเรามีประสบการณ์สามารถให้คำปรึกษาแนะนำได้เสมอ!